แมนเชสเตอร์ ซิตี้
( Manchester City )
website : https://www.mancity.com/
No. | Name | Type | Join | Out |
---|---|---|---|---|
33 | สก๊อตต์ คาร์สัน | ผู้เล่น | 2021-07-20 | - |
- | เป๊ป กวาร์ดิโอล่า | โค้ช | 2016-07-01 | - |
2 | ไคล์ วอล์คเกอร์ | ผู้เล่น | 2017-07-14 | - |
17 | เควิน เดอ บรอยน์ | ผู้เล่น | 2015-08-30 | - |
8 | อิลคาย กุนโดกัน | ผู้เล่น | 2016-07-01 | - |
5 | จอห์น สโตนส์ | ผู้เล่น | 2016-08-09 | - |
18 | สเตฟาน ออร์เตก้า | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
26 | ริยาด มาห์เรซ | ผู้เล่น | 2018-07-10 | - |
22 | เบนจามิน เมนดี้ | ผู้เล่น | 2017-07-23 | - |
10 | แจ็ค เกรียลิช | ผู้เล่น | 2021-08-05 | - |
9823 | ฌูเวา กังเซลู | ผู้เล่น | 2019-08-07 | - |
31 | เอแดร์สัน | ผู้เล่น | 2017-06-01 | - |
14 | อายเมริค ลาปอร์เต้ | ผู้เล่น | 2018-01-30 | - |
6 | นาธาน อาเก้ | ผู้เล่น | 2020-08-05 | - |
20 | แบร์นาโด้ ซิลวา | ผู้เล่น | 2017-07-01 | - |
25 | มานูเอล อคานจี | ผู้เล่น | 2022-09-01 | - |
8549 | แซค สเตฟเฟ่น | ผู้เล่น | 2019-07-09 | - |
4 | คาลวิน ฟิลลิปส์ | ผู้เล่น | 2022-07-04 | - |
3 | รูแบน จีอัส
| ผู้เล่น | 2020-09-29 | - |
16 | โรดริโก้ เอร์นานเดซ | ผู้เล่น | 2019-07-03 | - |
9 | เออร์ลิง ฮาแลนด์ | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
47 | ฟิล โฟเด้น | ผู้เล่น | 2017-07-01 | - |
21 | เซร์จิโอ โกเมซ | ผู้เล่น | 2022-08-16 | - |
19 | จูเลียน อัลวาเรซ | ผู้เล่น | 2022-01-31 | - |
1567 | Filip Stevanovic | ผู้เล่น | 2021-01-01 | - |
80 | Cole Palmer | ผู้เล่น | 2021-07-01 | - |
8592 | อิสซ่า คาโบเร่ | ผู้เล่น | 2020-07-29 | - |
8669 | Josh Wilson-Esbrand | ผู้เล่น | - | - |
82 | Rico Lewis | ผู้เล่น | - | - |
32 | Maximo Perrone | ผู้เล่น | 2023-01-23 | - |
Tournament | Join | Out |
---|---|---|
Premier League Asia Trophy | 2019-07-15 | 2019-07-20 |
Community Shield | 2022-07-29 | 2022-07-30 |
Premier League | 2022-08-05 | 2023-05-28 |
EFL Cup | 2022-08-01 | 2023-02-26 |
Champions League Grp. G | 2022-09-05 | 2022-11-02 |
Champions League Final Stage | 2023-02-13 | 2023-06-10 |
Club Friendlies | 2022-12-31 | 2023-12-30 |
FA Cup | 2022-11-03 | 2023-06-03 |
ประวัติ : แมนเชสเตอร์ ซิตี้
แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (Manchester City) ชื่อเต็ม (Manchester City Football Club) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1880 จุดเริ่มต้นมา แอนนา คอนเนลล์ (Anna Connell) และ ผู้ดูแลโบสถ์ เซนต์มากส์ (St. Marks) อีก 2 คน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสโมสร ณ ตอนนั้นใช้ชื่อในนามสโมสรว่า เซนต์มากส์ หรือ “เวสต์กอร์ตัน” โดยที่ตั้งเดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองแมนเชสเตอร์ ก่อนจะเคลื่อนย้ายมาอยู่แถวย่าน ไฮด์ โรด ในเมืองอาร์ดวิก ใกล้กับเมืองแมนเชสเตอร์ และได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรอีกครั้งว่า “อาร์ดวิก เอเอฟซี” ตามสถานที่ตั้งเหมือนเดิม พอผ่านระยะเวลามา 12 ปี ในปี ค.ศ 1892 สโมสรก็เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกของประเทศในระดับดิวิชั่น 2 ย่างก้าวเข้าสู่ ปี ค.ศ. 1893 สโมสรประสบปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารครั้งใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นก็ทำให้สโมสรต้องเปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรใหม่เช่นกัน เลยกลายมาเป็นชื่อ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ฟุตบอลคลับ (Manchester City Football Club) หรือย่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ ซิตี้ (Manchester City) ที่ปัจจุบันผู้คนได้กล่าวถึง ในช่วงปี ค.ศ1898-1899 แมนเชสเตอร์ ซิตี้ สร้างความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกให้กลับสโมสร ด้วยการคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 พร้อมกับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 หรือ ลีกสูงสุดของประเทศในเวลานั้น และอีก 5 ปีต่อมาสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ เป็นครั้งแรกให้กับสโมสรเพิ่ม ในปี ค.ศ. 1904 หลังจากนั้นก็ลงแข่งขันเรื่อยมา
จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1920 ได้เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น ณ ที่สนาม ไฮด์ โรด รังเหย้าของสโมสรในเวลานั้นได้เกิดเหตุเพลิงไฟลุกไหม้ขึ้นมาบนอัฒจันทร์หลัก จนสร้างความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้สโมสรต้องย้ายไปเล่นสนามที่แห่งใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “เมนโรด” ในปี ค.ศ. 1923 พอข้ามผ่านไป 1 ทศวรรษ สโมสรก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านสนามใหม่อีกครั้ง จากการสร้างสนาม “เอติฮัดสเตเดี้ยม” (Etihad Stadium) หรือ “ซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ สเตเดี้ยม” (City of Manchester Stadium) ขึ้นมาเป็นสนามเหย้าของตัวเองจนถึงปัจจุบัน ภายหลังได้มีการพัฒนาและปรับปรุงสนามจนรองรับแฟนบอลได้ถึง 55,000 ที่นั่ง โดยเป็นการเช่าจากสภาเมืองแมนเชสเตอร์ในระยะเวลา 250 ปี และมีฉายาในนามภาษาไทยว่า “เรือใบสีฟ้า” ส่วนชาวต่างชาติเรียกว่า "เดอะซิติเซน" (The Cityzens) แล้วแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ก็เป็นคู่อริร่วมเมืองกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เนื่องจากทั้ง 2 เมือง หรือ 2 สโมสร นั้นเป็นคู่แข่งร่วมเมืองจากปัญหาทางด้านการคมนาคมที่ยากลำบากในการไปมาหาสู่กัน หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า การเดินทาง นั่นเอง แม้ว่าทุกวันนี้จะเดินทางสะดวกสบายขึ้น แต่ก็สายเกินไปที่วิสัยทัศน์ของคนทั้ง 2 เมืองจะเป็นญาติกัน แล้วอีก 1 ประเด็นสำคัญ คือ แฟนบอลชาวอังกฤษของสโมสร แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองแมนเชสเตอร์ ส่วนแฟนบอลชาวอังกฤษของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะอาศัยอยู่นอกเมือง ตามเมืองต่างๆ เลยมีน้อย และนั้นก็กลายเป็นที่มาของ “ศึกบิ๊กแมตช์แห่งเมืองแมนเชสเตอร์” เวลาที่ทั้ง 2 สโมสรนี้เจอกันในแต่ละฤดูกาล ปัจจุบัน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ อยู่ภายใต้การคุมทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า (Pep Guardiola)
แมนเชสเตอร์ ซิตี้ กลับมาครองความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 2011-2012 ด้วยการเบียดคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ หรือ ลีกสูงสุดของประเทศในปัจจุบัน เหนือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เพียงประตูได้เสีย จากการที่ทั้ง 2 ทีม มีคะแนนเท่ากันอยู่ที่ 89 คะแนน ก่อนที่แมตช์การแข่งขันนัดสุดท้ายจะจบลงเพียงไม่กี่นาที แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ก็พลิกกลับมาเอาชนะ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ ได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ด้วยสกอร์ 3 ประตูต่อ 2 ถือว่าเป็นการคว้าแชมป์ลีกที่น่าเหลือเชื่อมาก จากการรอคอยมานานกว่า 44 ปี นับตั้งแต่สโมสรเคยได้ในปี ค.ศ. 1936-1937 ก่อนทิ้งช่วงมาในปี ค.ศ. 1967-1968 และนั้นก็เป็นการประกาศศักดิ์ดาครั้งใหม่ของสโมสรในการแย่งชิงแชมป์ทุกฤดูกาลต่อจากนั้นมา เกียรติประวัติแชมป์ทั้งหมดของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ หรือ “เรือใบสีฟ้า” : ระดับทวีปยุโรป แชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 (สมัย) : ระดับประเทศ แชมป์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ (4 สมัย), แชมป์ดิวิชั่น 1 (7 สมัย), แชมป์ดิวิชั่น 2 (1 สมัย), แชมป์เอฟเอฟคัพ (6 สมัย), แชมป์อีเอฟแอลคัพ หรือ แชมป์คาราบาวคัพ (7 สมัย), แชมป์เอฟเอคอมมิวนิตี้ชิลด์ หรือ แชมป์แชริตี้ชิลด์ (6 สมัย)
ดั้งเดิม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ใช้ชุดสีแดงหรือแดงดำ ในการแข่งขัน และผ่านมาในแต่ละฤดูกาลก็เปลี่ยนไปใช้หลากหลายสี ซึ่งต้นกำเนิดที่แท้จริงของสีเสื้อนั้นแน่ชัด แต่ว่าหลักฐานทางสโมสรก็พอมีอยู่บ้าง ในปี ค.ศ. 1892 จากการขึ้นหน้าปกของหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า สโมสรฟุตบอลชื่อดัง ตีพิมพ์ออกมา ส่วนทาง West Gorton (St. Marks) รายงานว่า ชุดสีแดงและสีดำของสโมสรนั้นปรากกฏขึ้นในปี ค.ศ. 1884 และมีการระบุว่าสโมสรสวมเสื้อยืดสีดำที่มีกากบาทสีขาว แสดงถึงต้นกำเนิดของสโมสร แล้วมีการเชื่อมโยงว่าเป็นการใช้สีเหมือนกับสโมสร เอซี มิลาน และนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจในการทำให้ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ รุ่งเรือง จากการเข้าสู่รอบชิงแชมป์เอฟเอคัพในปี ค.ศ. 1969, เข้าสู่รอบชิงแชมป์ลีกคัพในปี ค.ศ. 1970 และเข้าสู่รอบชิงแชมป์วินเนอร์สคัพของทางยุโรป ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายทศวรรษจนกลายมาเป็นสีฟ้าขาว ส่วนตราสโมสรถูกเปิดเผยในปี ค.ศ. 1930 ด้วยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์หลักมีใส่ลวดลายของเรือใบและชื่อสโมสรล้อมรอบเป็นสีเหลือง ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 สโมสรก็ได้นำมาปักเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี ค.ศ. 1972 สโมสรได้เปลี่ยนโทนสีของตราสโมสรใหม่เป็นสีครามเข้มและได้แทนที่ข้างล่างเป็นดอกกุหลาบแห่งแลงคาเชียร์ แล้วในปี ค.ศ. 1997 ก็ได้ใช้ตราสโมสรใหม่อีกครั้ง ในรูปลักษณ์เป็นนกอินทรีทองคำ สื่อถึงความเก่าแก่ของเมืองแมนเชสเตอร์ แต่อินทรีทองคำนี้ถูกเพิ่มเข้ามาเป็นตราสัญลักษณ์ของเมืองก่อนแล้ว ในปี ค.ศ. 1958 แต่ก็ได้ถูกลบออกไป ก่อนที่สโมสรจะนำใช้ใหม่อีกครั้ง ส่วนโล่เรือใบนั้นอยู่ครึ่งบน แสดงเป็นตัวแทนของคลองเรือแมนเชสเตอร์และมีลายขวางสามเส้นที่ครึ่งล่างเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำสามสายในเมือง ได้แก่ Irwell, Irk และ Medlock แล้วด้านล่างสุดใส่ข้อความตรงป้ายว่า "Superbia in Proelio" เป็นคำขวัญประจำทีมในตอนนั้นด้วยภาษาลาติน หากแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว แปลว่า "ความภาคภูมิใจในการแข่งขัน" ส่วนเหนือหัวนกอินทรีทองคำนั้นเป็นโลโก้ดาว 3 ดวง แสดงถึงความสำเร็จของสโมสร
แต่แล้วในวันที่ 15 ตุลาคม 2015 ก็เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ของเหล่าบรรดาแฟนคลับสมัยใหม่ เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ จนสโมสรต้องประกาศดำเนินการหารือเรื่องตราสโมสรจากหลายฝ่ายทั้งในสโมสรและแฟนคลับ ก่อนที่ปลายเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ 2015 จะได้ลงมติตกลงเปลี่ยนตราสโมสรมาเป็นตราปัจจุบันดั่งที่เห็นกัน ส่วนสปอนเซอร์บนเสื้อถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ 1974 แต่แล้วในช่วงเวลาปี ค.ศ. 1974-1982 ก็ไม่มีบรัษัทไหนมาสนับสนุน พอสโมสรเริ่มประสบความสำเร็จในการแข่งขันอีกครั้งก็มี (Saab), (Philips), (Brother), (Eidos), (First Advice), (Thomas Cook) และสายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ (Etihad Airways) ส่วนสปอนเซอร์หลักก็มี อัมโบร (Umbro) ในปี ค.ศ. 1974-1997, แคปป้า (Kappa) ในปี ค.ศ 1997-1999, (Le Coq Sportif) ในปี ค.ศ. 1999-2003, รีบอค (Reebok) ในปี ค.ศ. 2003-2007, (Le Coq Sportif) ในปี ค.ศ. 2007-2009, อัมโบร (Umbro) ในปี ค.ศ. 2009-2013, ไนกี้ (Nike) ในปี ค.ศ. 2013-2019 และพูม่า (Puma) ในปี ค.ศ. 2019-ปัจจุบัน( Updated : 6-4-2020 )