เซาแธมป์ตัน
( Southampton )
website : https://www.southamptonfc.com/
No. | Name | Type | Join | Out |
---|---|---|---|---|
13 | วิลลี่ กาบาเยโร่ | ผู้เล่น | 2021-12-06 | - |
32 | ธีโอ วัลคอตต์ | ผู้เล่น | 2021-07-01 | - |
1 | อเล็กซ์ แม็คคาร์ธี่ | ผู้เล่น | 2016-08-01 | - |
11 | มิสลาฟ ออร์ชิช | ผู้เล่น | 2023-01-06 | - |
8678 | แจ็ค สตีเฟ่นส์ | ผู้เล่น | 2013-07-01 | - |
17 | สจ๊วร์ต อาร์มสตรอง | ผู้เล่น | 2018-07-01 | - |
24 | โมฮาเหม็ด เอลยูนูสซี่ | ผู้เล่น | 2018-07-01 | - |
8 | เจมส์ วอร์ด-พราวส์ | ผู้เล่น | 2012-07-01 | - |
12 | พอล โอนัวชู | ผู้เล่น | 2023-01-31 | - |
35 | แยน เบดนาเร็ก | ผู้เล่น | 2017-07-01 | - |
9 | อดัม อาร์มสตรอง | ผู้เล่น | 2021-08-10 | - |
14 | เจมส์ บรี | ผู้เล่น | 2023-01-26 | - |
6 | ดูเย่ ซาเลต้า-ซาร์ | ผู้เล่น | 2022-09-01 | - |
10 | เช อดัมส์ | ผู้เล่น | 2019-07-01 | - |
3 | เอนส์ลี่ย์ เมตแลนด์-ไนลส์ | ผู้เล่น | 2022-09-01 | 2023-05-21 |
10242 | Mateusz Lis | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
4 | ไลอันโก้ | ผู้เล่น | 2021-08-25 | - |
2 | ไคล์ วอล์คเกอร์ ปีเตอร์ส | ผู้เล่น | 2020-08-11 | - |
8559 | Dan N'Lundulu | ผู้เล่น | 2020-10-01 | - |
7 | โจ อารีโบ | ผู้เล่น | 2022-07-09 | - |
10194 | William Smallbone | ผู้เล่น | 2020-01-01 | - |
15 | โรแม็ง แปร์โรด์ | ผู้เล่น | 2021-07-02 | - |
19 | มูสซ่า เฌเนโป้ | ผู้เล่น | 2019-07-01 | - |
8191 | Nathan Tella | ผู้เล่น | 2020-07-01 | - |
22 | โมฮัมเหม็ด ซาลิซู | ผู้เล่น | 2020-08-12 | - |
27 | อิบราฮิม่า ดิยัลโล | ผู้เล่น | 2020-10-04 | - |
31 | Gavin Bazunu | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
37 | Armel Bella-Kotchap | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
- | Kgaogelo Chauke | ผู้เล่น | - | - |
21 | Valentino Livramento | ผู้เล่น | 2021-08-02 | - |
26 | Carlos Alcaraz | ผู้เล่น | 2023-01-09 | - |
20 | Kamaldeen Sulemana | ผู้เล่น | 2023-01-31 | - |
23 | Samuel Edozie | ผู้เล่น | 2022-09-01 | - |
18 | Sekou Mara | ผู้เล่น | 2022-07-21 | - |
45 | Romeo Lavia | ผู้เล่น | 2022-07-06 | - |
- | Thierry Small | ผู้เล่น | 2021-08-24 | - |
28 | Juan Larios | ผู้เล่น | 2022-09-01 | - |
- | Ruben Selles | โค้ช | 2023-02-12 | - |
Tournament | Join | Out |
---|---|---|
Premier League | 2022-08-05 | 2023-05-28 |
EFL Cup | 2022-08-01 | 2023-02-26 |
FA Cup | 2022-11-03 | 2023-06-03 |
ประวัติ : เซาแธมป์ตัน
เซาแธมป์ตัน (Southampton) ชื่อเต็ม (Southampton Football Club) อยู่ย่านแฮมป์เชียร์เคาน์ตี้ ห่างจากกรุงลอนดอนในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 โดยกลุ่มสมาชิกเยาวชนจากโบสถ์เซนต์แมรี่ (St. Mary’s Church) ลงเล่นทางฝั่ง Itchen เป็นระยะเวลา 13 ปี เดิมทีทีมชื่อว่า “เซนต์แมรี่ เอฟซี” ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “เซาแธมป์ตัน เซนต์แมรี่” และลงแข่งขันในลีกตอนใต้ ช่วงปี ค.ศ. 1894 หลังจากเข้าสู่การแข่งขันแบบเป็นอาชีพ สโมสรก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น เซาแธมป์ตัน เอฟซี หรือเรียกกันในนามฉายาว่า “นักบุญ” หรือ “นักบุญแดนใต้” แล้ว เซาแธมป์ตัน ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้วยการคว้าแชมป์ลีกตอนใต้ 3 สมัยติดต่อกัน ในปี ค.ศ. 1896-1897, ปี ค.ศ. 1897-1898, ปี ค.ศ. 1898-1899 จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ เซาแธมป์ตัน สร้างสนามแห่งแรกเป็นของตัวเองได้ โดยชื่อว่า "The Dell" ในปี ค.ศ. 1898 ก่อนที่จะไต่เต้าขึ้นมาเล่นในดิวิชั่น 2 เซาแธมป์ตันเคยเข้าชิงแชมป์เอฟเอคัพ (FA Cup) ในปี ค.ศ. 1900 กับ บูรี่ (Bury) แล้วแล้วก็พอกับความพ่ายแพ้ เลยเป็นไปได้แค่รองแชมป์ พอผ่านมาอีก 1 ปี ก็เข้าชิงแชมป์เอฟเอคัพกับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด อีกรอบ
แต่ท้ายที่สุดก็ยังเป็นได้แค่พระรอง แล้วเซาแธมป์ตันก็เป็นสโมสรที่ตกชั้นบ่อยมาก เริ่มจากปี ค.ศ. 1953 ตกชั้นสู่ดิวิชั่น 3 แล้วก็ต้องใช้ระยะเวลาพัฒนาประมาน 13 ปี กว่าจะขึ้นมาสู่ดิวิชั่น 1 ได้ในปี ค.ศ. 1966 แต่แล้วก็ยังเอาแน่เอานอนกับฟอร์มการเล่นของเซาแธมป์ตันไม่ได้ เพราะปี ค.ศ. 1974 ก็หล่นลงไปอีก แต่ว่าช่วงเวลาที่ตกชั้นไปนั้น เซาแธมป์ตัน สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงแชมป์เอฟเอคัพกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้เป็นครั้งที่ 3 แต่ครั้งนี้ เซาแธมป์ตัน เอาชนะไปได้ 1-0 เลยทำให้ เซาแธมป์ตัน เป็นแชมป์เอฟเอคัพสมัยแรกในปี ค.ศ. 1976 และก็ขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1978 เซาแธมป์ตัน ใช้เวลาเล่นอยู่บนลีกสูงสุดนานถึง 27 ปี แล้วก็ได้เข้าชิงแชมป์อีกครั้งในปี ค.ศ. 2003 ปีนั้นวัดกับ อาร์เซน่อล แต่สุดท้ายก็ต้านความเก๋าเกมของคู่แข่งไม่ไหว เลยทำให้เซาแธมป์ตันต้องแพ้ไป 0-1 เลยเป็นได้แค่รองแชมป์อีก ก่อนที่จะตกชั้นไปเล่นดิวิชั่น 2 ในปี ค.ศ. 2005 หลังจากนั้นใช้เวลาพัฒนาทีมอีก 7 ปี ก่อนจะกลับขึ้นสู่ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้ในปี ค.ศ. 2012-2013 เซาแธมป์ตัน คือ อีกหนึ่งสโมสรในอันดับต้นๆ ที่ปั้นนักเตะดาวรุ่ง พุ่งสู่ทีมชั้นนำระดับประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อมดลูกหนังอย่าง แมทธิว เลอ ทิสซิเอร์ (matthew le tissier )
นักเตะที่จงรักภักดีกับทีมมายาวนานจนแฟนคลับได้ยกย่องและสรรสเริญให้ แมทธิว เลอ ทิสซิเอร์ เป็น “พระเจ้า” หรือจะเป็น อลัน เชียเรอร์ (Alan Shearer) ศูนย์หน้าฝีเท้าดี ที่เริ่มต้นอาชีพเป็นนักเตะเซาแธมป์ตัน ก่อนที่จะย้ายไปคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกกับ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ แล้วนักเตะฝีเท้าดีอีกมากมายที่เติบโตมาจากศูนย์ฝึกฟุตบอลของสโมสรเซาแธมป์ตัน เช่น อเล็กซ์ อ็อกซ์เลด แชมเบอร์เลน (Alex Oxlade Chamberlain) และ ธีโอ วัลคอตต์ (Theo Walcott) ขายให้กับอาร์เซน่อล ส่วน แกเร็ธ เบล (Gareth Bale) ขายให้กับสเปอร์ส แล้วยังมี ซาดิโอ มาเน่ (Sadio Mane) และ เวอร์จิล ฟาน ไดจ์ค (Virgil van Dijk) ที่ขายให้กับลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ทีมขนาดเล็กอย่าง เซาแธมป์ตัน จะถูกทีมใหญ่ซื้อตัวนักเตะไปร่วมทีม ปัจจุบัน เซาแธมป์ตัน ยังอยู่ภายใต้การคุมทีมของ ราล์ฟ ฮาเซนฮุทเทิล (Ralph Hasenhuttl) สนามเหย้า เซนต์แมรี่ สเตเดี้ยม (St Marys Stadium) เดิมที คือ สนาม เดอะ เดล (The Dell) ทาง เซาแธมป์ตัน ต้องการสร้างสนามขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเดิมมีขนาดเล็ก ไม่สามารถรองรับแฟนคลับจำนวนมากได้ เลยเริ่มปรับปรุงเพิ่มจนได้ 15,000 ที่นั่ง เท่านั้น พอ เซาแธมป์ตัน เลื่อนสู่ลีกสูงสุดของประเทศได้ ก็ทำการเพิ่มความจุให้ได้มากกว่าเดิม หลังจากขยายเพิ่ม สนาม เดอะ เดล ก็บรรจุได้แค่ 25,000 ที่นั่ง แล้วไม่สามารถขยายเพิ่มได้อีก เลยทำให้ เซาแธมป์ตัน ต้องย้ายมาตั้งสนามใหม่ในย่านสโตนแฮม ซึ่งเป็นใจกลางของเมือง เซาแธมป์ตันเลย และห่างจากสนามเดิมอย่าง เดอะ เดล เพียง ครึ่งไมล์เท่านั้น แล้วสนาม เซนต์แมรี่ สเตเดี้ยม เริ่มสร้างตอนเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1999 และแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2001
เซาแธมป์ตัน อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนานักเตะดาวรุ่งมากกว่า ลองมาดูเกียรติประวัติแชมป์ทั้งหมดของ เซาแธมป์ตัน หรือ “นักบุญแดนใต้” : ระดับประเทศ รองแชมป์ดิวิชั่น 1 หรือ แชมป์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ (1 ครั้ง), แชมป์ดิวิชั่น 2 หรือ แชมป์แชมเปี้ยนชิพ (3 ครั้ง), แชมป์ลีกตอนใต้ (3 สมัย), แชมป์ลีกวัน (1 สมัย), แชมป์เอฟเอฟคัพ (1 สมัย), รองแชมป์อีเอฟแอลคัพ หรือ แชมป์คาราบาวคัพ (2 ครั้ง), รองแชมป์แชริตี้ชิลด์ หรือ แชมป์เอฟเอคอมมิวนิตี้ชิลด์ (1 ครั้ง) ที่มาของตราสโมสรเซาแธมป์ตันอันปัจจุบัน “วงแหวนรัสมีสีเหลือง” ที่อยู่บนลูกบอลนั้น สื่อถึง ชื่อเล่นของสโมสร “The Saints” หรือฉายาว่า นักบุญ นั่นเอง “ผ้าพันคอแถบสีแดงขาว” สื่อถึง แฟนคลับที่เคยอยู่ข้างๆ และสนับสนุนกับตลอดเวลาที่ลงแข่งขัน “ต้นไม้และผืนน้ำ” สื่อถึง ความอุดมสมบูรณ์ของเมืองที่ใหญ่ที่สุดในย่านแฮมเชียร์เคาน์ตี้ “ดอกไม้สีขาว” สื่อถึง ดอกไม้ประจำเมือง นับว่าเป็นสโมสรที่มีการเปลี่ยนตราสโมสรน้อยมาก เพราะ เซาแธมป์ตัน เป็นเพียง 3 ครั้งเท่านั้น
สปอนเซอร์ที่คอยสนับสนุน เซาแธมป์ตัน ตั้งแต่ 1980-ปัจจุบัน บริษัทแรกที่เข้ามามีส่วนร่วมกับสโมสรและเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ คือ บริษัทผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร (Rank Xerox) เข้ามาสนับสนุนอยู่ 3 ปี ในปี ค.ศ. 1980 ต่อมาก็มี (Air Florida) ปี ค.ศ. 1983, (Draper Tools) ปี ค.ศ. 1984-1993, (Dimplex) ปี ค.ศ. 1993-1995, (Sanderson) ปี ค.ศ. 1995- 1999, (Friends Provident) ปี ค.ศ. 1999-2006, (Flybe.com) ปี ค.ศ. 2006-2010, (AAP3) ปี ค.ศ. 2011-2014, (Veho) ปี ค.ศ. 2014-2016 และ ปี ค.ศ. 2016 เป็นต้นมาได้รับการสนับสนุนจาก (Virgin Media) ส่วนสปอนเซอร์หลัก มี (Umbro) ปี ค.ศ. 1974-1976 และปี ค.ศ. 2008-2013, (Admiral) ปี ค.ศ. 1976-1980 และปี ค.ศ. 1991-1993, (Patrick) ปี ค.ศ. 1980-1987, (Pony) ปี ค.ศ. 1993-1999, (Adidas) ปี ค.ศ. 2013-2014 และปี ค.ศ. 2015-2016 จากปี ค.ศ. 1999-2008 และปี ค.ศ. 2014-2015 เซาแธมป์ตันใช้เสื้อทีมแบรนด์ของตัวเอง ( Updated : 14-4-2020 )