คริสตัล พาเลซ
( Crystal Palace )
website : https://www.cpfc.co.uk/
No. | Name | Type | Join | Out |
---|---|---|---|---|
18 | เจมส์ แม็คอาร์เธอร์ | ผู้เล่น | 2014-09-01 | - |
- | รอย ฮอดจ์สัน | โค้ช | 2023-03-21 | - |
13 | บิเซนเต้ กวยต้า | ผู้เล่น | 2018-07-01 | - |
5 | เจมส์ ทอมกินส์ | ผู้เล่น | 2016-07-05 | - |
2 | โจเอล วอร์ด | ผู้เล่น | 2012-06-30 | - |
9 | จอร์แดน อายิว | ผู้เล่น | 2019-07-25 | - |
17 | เนธาเนียล ไคลน์ | ผู้เล่น | 2020-10-14 | - |
4 | ลูก้า มิลิโวเยวิช | ผู้เล่น | 2017-01-31 | - |
11 | วิลฟรีด ซาฮา | ผู้เล่น | 2015-02-02 | - |
15 | เจฟฟรี่ย์ ชลุปป์ | ผู้เล่น | 2017-01-13 | - |
21 | แซม จอห์นสโตน | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
10260 | แจ็ค บัตแลนด์ | ผู้เล่น | 2020-10-17 | - |
19 | วิลล์ ฮิวจ์ส | ผู้เล่น | 2021-08-28 | - |
44 | ไจโร รีเดอวัลด์ | ผู้เล่น | 2017-07-18 | - |
16 | โจอาคิม แอนเดอร์เซ่น | ผู้เล่น | 2021-07-28 | - |
8467 | เรมี่ ลุค แมทธิว | ผู้เล่น | 2021-07-12 | - |
22 | อ็อดซอนน์ เอดูอาร์ | ผู้เล่น | 2021-08-31 | - |
14 | ฌอง-ฟิลิปป์ มาเตต้า | ผู้เล่น | 2022-01-31 | - |
10 | เอเบเรชี่ เอเซ่ | ผู้เล่น | 2020-08-28 | - |
6 | มาร์ค เกฮี | ผู้เล่น | 2021-07-18 | - |
36 | นาธาน เฟอร์กูสัน | ผู้เล่น | 2020-07-27 | - |
8 | อัลเบิร์ต ซัมบิ โลคอนก้า | ผู้เล่น | 2023-01-31 | 2023-05-31 |
26 | Chris Richards | ผู้เล่น | 2022-07-28 | - |
28 | แชก อูมาร์ เร่ | ผู้เล่น | 2022-07-11 | - |
7 | มิคาเอล โอลิส | ผู้เล่น | 2021-07-08 | - |
- | Luke Plange | ผู้เล่น | 2022-01-31 | - |
3 | ไทริก มิตเชลล์ | ผู้เล่น | 2019-07-01 | - |
29 | Naouirou Ahamada | ผู้เล่น | 2023-01-31 | - |
8451 | Jesurun Rak-Sakyi | ผู้เล่น | 2021-07-01 | - |
9896 | Killian Phillips | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
8667 | Malcolm Ebiowei | ผู้เล่น | 2022-07-01 | - |
Tournament | Join | Out |
---|---|---|
Uhren Cup | 2019-07-08 | 2019-07-13 |
Premier League | 2022-08-05 | 2023-05-28 |
EFL Cup | 2022-08-01 | 2023-02-26 |
FA Cup | 2022-11-03 | 2023-06-03 |
ประวัติ : คริสตัล พาเลซ
คริสตัล พาเลซ (Crystal Palace) ชื่อเต็ม (Crystal Palace Football Club) อยู่ในย่านเซลเฮิร์ส ชานเมืองลอนดอน ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1905 โดยใช้สนาม เซลเฮิร์ส ปาร์ค (Selhurst Park) เป็นสนามเหย้าของตัวเอง สนามดังกล่าวบรรจุแฟนคลับได้ 26,000 ที่นั่ง และมีนโยบายพัฒนาเพิ่มเป็น 36,000 ที่นั่ง ในปี ค.ศ. 2021-2022 จากประชากรในพื้นที่ช่วยกัน ภายใต้การแนะนำของ เอ็ดมุนด์ กู๊ดแมน (Edmund Goodman) ผู้ช่วยเลขานุการสโมสร แอสตัน วิลล่า เลยทำให้สีประจำสโมสรของทั้งสองคล้ายกันในตอนนั้น แต่ คริสตัล พาเลซ ก็เป็นหนึ่งในสโมสรอังกฤษที่ร่วมก่อตั้ง พรีเมียร์ลีก ขึ้นมา ส่วนสีประจำสโมสรเดิมเป็นสีม่วงและสีน้ำเงิน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสีแดงและสีน้ำเงิน และถูกเรียกในนามฉายาว่า "ปราสาทเรือนแก้ว" หรือ "ราชวังเรือนแก้ว" แล้วคู่ปรับหรือคู่อริในการแข่งขันของ คริสตัล พาเลซ คือ ไบรท์ตัน เวลาเจอกันเมื่อไหร่จะเรียกว่า M23 Derby และก็มีคู่ปรับทางใต้ของลอนดอนอย่าง มิลล์วอลล์ และ ชาร์ลตัน แอตเลติก ด้วย ในช่วงสงครามโลกฟุตบอลลีกก็ได้ยุติลง แต่ คริสตัล พาเลซ ก็สามารถคว้าแชมป์ในรายการลีกตอนใต้และดีลีกได้ทั้งสองรายการ หลังจากสงครามโลกสงบลง คริสตัล พาเลซ ทำผลงานได้ไม่ดี โดยจบในอันดับที่ 7 และยังต้องดิ้นร้นหนีตกชั้นอีก 3 ฤดูกาลด้วย
ในระหว่างการแข่งขันดิวิชั่น 3 อยู่นั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยให้สโมสรที่อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าครึ่งตารางตอนใต้ไปรวมกับสโมสรที่อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าครึ่งตารางตอนเหนือ แล้วแยกออกไปเป็นดิวิชั่นใหม่ขึ้นมา คือ ดิวิชั่น 4 ในตอนนั้น คริสตัล พาเลซ จบในอันดับที่ 14 เลยทำให้สโมสรต้องหล่นไปเล่นดิวิชั่น 4 แต่ทาง คริสตัล พาเลซ ก็ใช้เวลาปรับตัวได้ไม่นานก่อนที่จะเลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 3 ได้สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1960 ส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาทำทีมของ อาร์เธอร์ เวต ผู้จัดการทีมคนใหม่ แต่การเลื่อนชั้นครั้งนี้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ ดิ๊ก เกรแฮม และ เบิร์ด เฮด อยู่กับสโมสรต่อไป จนในที่สุดก็พาสโมสรขึ้นสู่ดิวิชั่น 2 ได้อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1963-1964 แล้วก็ใช้เวลาไม่นานเหมือนเคยกับการก้าวสู่ลีกสูงสุดของประเทศอย่าง พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในปี ค.ศ. 1968-1969 คริสตัล พาเลซ ทำการแข่งขันอยู่ลีกสูงสุดในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีก็ต้องตกชั้นไปอีก ยิ่งไปกว่านั้นคือสโมสรตกสู่ดิวิชั่น 3 ในปี ค.ศ. 1974-1975 ด้วย แต่ในปีต่อมา คริสตัล พาเลซ ทะลุผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในรายการเอฟเอคัพ แต่แล้วผู้จัดการทีมอย่าง มัลคอล์ม ก็โดนปลดออก และทำการแต่งตั้ง เทอรรี่ เวนาเบิ้ล มาคุมต่อ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเพราะปี ค.ศ. 1978-1979 คริสตัล พาเลซ สามารถเลื่อนชั้นได้สำเร็จตามเป้า พอเข้าสู่ปี ค.ศ. 1980 คริสตัล พาเลซ ก็ประสบปัญหาทางด้านการเงิน แล้วก็ไม่สามารถรักษาพื้นที่บนดิวิชั่น 1 ได้ เลยทำให้สโมสรต้องตกชั้นไปในที่สุด
ในวันที่ 4 มิถุนายน 1984 สตีฟ ค็อปเปลล์ อดีตผู้เล่น แมนยูก็เข้ามาคุมทีม แล้วก็พา สตีฟ ค็อปเปลล์ ประสบความสำเร็จได้ด้วยการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น จนหวนกลับขึ้นดิวิชั่น 1 และได้สิทธิไปเล่นในรายการยุโรป แต่ก็โดนทางสมาคมฟุตบอลยุโรปปฏิเสธ ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขัน เพราะเกิดโศกนาฏกรรมที่สนามเฮย์เซล แต่ คริสตัล พาเลซ ก็สามารถคว้าแชมป์ ฟูลล์ เมมเบอร์ คัพ ได้ โดยการเอาชนะเอฟเวอร์ตันในช่วงต่อเวลาพิเศษไป 4 ประตูต่อ 1 หลังจากนั้นไม่นานกองหน้าตัวความหวังของสโมสรอย่าง เอียน ไรท์ ก็ย้ายไปร่วมทัพอาร์เซน่อล ส่งผลให้ปีต่อมาสโมสรจบในอันดับที่ 10 ของตาราง นอกจากนี้ยังขาย มาร์ค ไบรท์ ให้กับ เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ อีก ทำให้สโมสรไม่มีนักเตะมาทดแทน แล้วท้ายที่สุดก็เป็นเหมือนเดิมด้วยการตกชั้น และการตกชั้นครั้งนั้นก็เป็นประวัติศาสตร์ของ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ด้วย เพราะ คริสตัล พาเลซ มีอยู่ 49 คะแนน นับว่าน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทาง สตีฟ ค็อปเปลล์ เลยรับผิดชอบด้วยการลาออก และดัน อลัน สมิธ ที่เป็นผู้ช่วยขึ้นมาคุมต่อ แล้วก็ใช้เวลาเพียงปีเดียวเท่านั้นก็พา คริสตัล พาเลซ กลับสู่พรีเมียร์ลีกอังกฤษได้ ในช่วงปลายเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1995 สโมสรถูกแบนนักเตะทั้ง 2 ราย คือ แมททิว ซิมมอนส์ ถูกตรวจพบว่าพยายามยั่วยุ อีริค คันโตน่า ถึงสองครั้งก่อนที่เจ้าตัวจะถูกถีบเลยโดนสั่งห้ามเข้าสนาม เซลเฮิสต์ พาร์ค ยิ่งกว่านั้น ในเดือนมีนาคม คริส อาร์มสตรอง ก็สั่งห้ามลงทำการแข่งขันเหมือนกัน หลังจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษตรวจสอบว่าเจ้าตัวใช้สารเสพติด
แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบอะไรมากเพราะทางด้าน อลัน สมิธ พาสโมสรผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้ทั้งรายการเอฟเอคัพและลีกคัพ แต่ด้วยผลงานที่ไม่เสมอต้นเสมอปลาย เลยทำให้ปีนั้นหล่นไปอยู่อันดับที่ 4 นับจากท้ายตาราง ประกอบการทางพรีเมียร์ลีกได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยการลดสโมสรจาก 22 สโมสรให้เหลือ 20 สโมสร เลยเป็นเคราะห์ร้ายให้ตกชั้นอีกครั้ง หลังจาก อลัน สมิธ ลาออก สตีฟ ค็อปเปลล์ ก็กลับมามีส่วนร่วมกับสโมสรใหม่ในฐานะผู้อำนวยการทางด้านเทคนิค และร่วมมือกับ เรย์ เลวิงตัน กับ เดฟ บาสเซ็ตต์ ในการทำทีม จนท้ายที่สุด คริสตัล พาเลซ ก็ได้เข้าเล่นรอบเพลย์ออฟ แต่ก็พลาดท่าแพ้ต่อ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ไป แต่แล้วก็ยังได้เลื่อนชั้นอยู่ และแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จบนเวทีพรีเมียร์ลีกอยู่ดีหลังจากตกลงไปดิวิชั่น 1 ในปี ค.ศ. 1998-1999 หลังจากนั้นไม่นาน มาร์ค โกลด์ เบิร์ก ก็ไม่สามารถบริหารสโมสรได้อีก ไซมอน จอร์แดน เลยเข้ามาบริหารจัดการต่อแทน ในปี ค.ศ. 2000-2001 เหมือนว่าวัฏจักรจะวนมา เมื่อสโมสรเป็นหนี้และทาง ไซมอน จอร์แดน ไม่สามารถบริหารทางด้านการเงินได้ เลยถูกบีบให้ขายนักเตะสำคัญอย่าง วิคเตอร์ โมเสส และ โจเซ่ ฟอนเต้ ออกจากสโมสร ย่านเข้าสู่ปี ค.ศ. 2012 ในวันที่ 30 ตุลาคม เอียน ฮอลโลเวย์ เข้ามาคุมทีม และพา คริสตัล พาเลซ จบในพื้นที่เพลย์ออฟเลื่อนชั้น ก่อนที่จะเอาชนะ วัตฟอร์ต ได้ 1 ประตูต่อ 0 ส่งผลให้สโมสรกลับขึ้นมาเล่น พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้อีกครั้งในรอบ 18 ปี ปัจจุบัน คริสตัล พาเลซ อยู่ภายใต้การคุมทีมของ รอย ฮอดจ์สัน (Roy Hodgson)
เนื่องจากเป็นสโมสรเล็กๆ เลยไม่เคยประสบความสำเร็จในรายการใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่สโมสรเคยทำได้ดีที่สุดด้วยการจบอันดับ 3 ในฤดูกาล 1990-1991 เกียรติประวัติแชมป์ทั้งหมดของ คริสตัล พาเลซ หรือ “ปราสาทเรือนแก้ว” : ระดับประเทศ แชมป์ดิวิชั่น 2 หรือ แชมป์แชมเปี้ยนชิพ (2 สมัย), แชมป์ลีกวัน (1 สมัย), แชมป์ฟูลล์ เมมเบอร์คัพ (1 สมัย), แชมป์ลีกตอนใต้ (1 สมัย)
ตราสัญลักษณ์สโมสร ในปี 1935 ใช้ตัวย่อ CP FC พร้อมสีประจำสโมสร น้ำเงิน แดงเลือดหมู, ในปี 1955 ปรับเปลี่ยนมาเป็นโลโก้เป็นรูปปราสาทสีขาวดำ, ในปี 1960 ปรับให้ทันสมัยขึ้นโดยใส่สีน้ำเงิน,แดงเลือดหมูไปที่ตรงกลาง, ในปี 1964 มีกลับใช้เปลี่ยนสีประจำทีมใหม่ โดยใช้สีน้ำเงินตัดสีขาวและสีแดงในทรงครึ่งวงกลม, ในปี 1967 ใช้สีพื้นเป็นสีแดงเลือดหมู และใส่คำว่า CRYSTAL PALACE เป็นสีเหลืองทอง, ในปี 1972 ใช้โลโก้วงกลมสีแดงเลือดหมูขาว ใส่ชื่อฉายาไว้บนและชื่อทีมไว้ล่างแล้วใส่อักษรย่อ CP ตรงกลางวง, ในปี 1973 ได้เอาพญาอินทรีเข้ามาเป็นสัญลักษณ์แทนคำว่า CP, ในปี 1987 ตัดวงกลมออก แล้วยกพญาอินทรีขึ้นไปอยู่บนปราสาท, ในปี 2006 ได้ปรับภาพลักษณ์พญาอินทรีให้ดูสง่า พร้อมลงรายละเอียดลูกฟุตบอลที่โดนเหยียบให้มีลวดลาย ,ในปี 2012 ออกมาแบบมา 6 แบบ แล้วเปิดโหวตให้แฟนบอลลงคะแนน และในปี 2013 สัญลักษณ์ที่ถูกโหวตและปรับโครงสร้างนิดหน่อยได้ใช้งานจริง ดังสัญลักษณ์ที่เห็นกันในปัจจุบัน ( Updated : 11-4-2020 )